“ขงจื้อ” เป็นชนชาติไท….

เพียงอ่านวลีนี้ ก็ช๊อคกันไปแล้วค่อนโลก….ใครล่ะจะเชื่อว่า “ขงจื้อ” ผู้เป็นศาสดาที่ประชากรโลกหลายพันล้านคน ได้ศึกษาปฏิบัติในปรัชญาของท่านสืบต่อกันมานับพัน ๆ ปี จะเป็น “ชนชาติไท….!!! ”

บรรพชนของขงจื๊อสืบเชื้อสายเผ่าไทจ้าว ซึ่งเป็นผู้ครองแคว้นซ่ง(宋国)อันเป็นหนึ่งในสายราชนิกูลของราชวงศ์ช้าง(ซาง)(商朝)บรรพชนรุ่นต่อมาได้รับราชการเป็นขุนนางชั้นสูงของแคว้นซ่งมาหลายชั่วคน

ขงจื๊อ เป็นชาวไทจ้าว เดิมชื่อว่า ชิว(丘)ชื่อรอง จ้งหนี(仲尼) เป็นชาวเมือง โจวอี้(陬义)ในแคว้นหลู่ปัจจุบันคือเมือง ชวีฟู่(曲阜)ในมณฑล ซานตง(山东)ท่านเกิดในสมัยชุนชิว(春秋)เกิดก่อนพุทธเจ้าปรินิพพาน 8 ปี ก่อนพุทธศักราช (55 ปีก่อนคริสตกาล) ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 64 (479 ปีก่อนคริสตกาล) สิริอายุ 73 ปี

ใน ‘บันทึกประวัติศาตร์สื่อจี้ บทตระกูลขงจื๊อ’ <<史记,孔子世家>>ได้บันทึกไว้ว่า ขงจื๊อสูงประมาณ 2 เมตร เรียกได้ว่าเป็น ‘ผู้สูงใหญ่’ อย่างแท้จริง
ตามจารึกมีว่า…กำลังแขนของขงจื๊อแข็งแรงยิ่งนัก คุณลักษณะทางกายภาพเหล่านี้ ขงจื๊อได้รับถ่ายทอดจากผู้เป็นบิดา ซึ่งภายหลังในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมเหมาเจอตุง ได้มีการปรับแปลงประวัติท่านให้ด้อยค่าไม่ตรงกับภาพลักษณ์ โดยเปลี่ยนเสียใหม่ว่า “…ขงจื๊อเป็นปัญญาชนที่ร่างกายอ่อนแอ…ขี้โรค…ฯลฯ ในทางลบทั้งสิ้น เพื่อไม่ให้ประชาชนจีนนัยถือ ศาสนา หรือ ปรัชญาใดต่อไป นอกจากลัทธิเหมาที่เป็นแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ เท่านั้น” เพราะความเป็นจริงตามจารึกทุกกระแส ตรงกันว่าท่านแข็งแรง ชำนาญทั้งบุ๋น บู๊ ยิงเกาทัณฑ์และขี่ม้า นอกจากนี้ ความสามารถในการดื่มสุราก็เหนือกว่าใคร

เมื่อขงจื๊ออายุได้ 3 ขวบ บิดาก็เสียชีวิต เหยียนเจิงไจ้ทนการกดขี่ของภรรยาหลวงไม่ไหว จึงพาบุตรชายสองคนไปใช้ชีวิตตามลำพัง นางอบรมเลี้ยงดูบุตรทั้งสองอย่างดี ให้ความสำคัญกับการศึกษาหาความรู้ โดยได้รับความช่วยเหลือจากบิดาของนาง มารดาและผู้เป็นตาจึงเป็นผู้ปลูกฝังความใฝ่รู้ให้กับขงจื๊อตั้งแต่ยังเยาว์วัย สิ่งที่ขงจื๊อเล่าเรียนในขณะนั้นคือ จารีต ประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติ และพิธีกรรมของชนชั้นสูงและผู้มีฐานะในสังคมสมัยราชวงศ์โจว

เมื่อขงจื๊ออายุ 15 ปี ก็ตั้งปณิธานใฝ่ศึกษาศิลปวิชาแขนงต่าง ๆ ดังที่มีบันทึกในหนังสือ ‘วาทะวิจารณ์ของขงจื๊อ’ <<论语>> ว่า
“ ข้าอายุ 15 ก็ตั้งมั่นในการศึกษา” (吾十有五而志于学)พออายุ 17 ผู้เป็นมารดาจากไป ขงจื๊อเลี้ยงชีพด้วยการเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในแคว้นหลู่
ทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานดูแลคลังเสบียงและเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ตามลำดับ นอกจากนี้ จวนขุนนางหรือคหบดีคนใดมีงานมงคลหรืออวมงคล
ก็จะไปเป็นผู้ทำพิธีกรรมให้ ด้วยอุปนิสัยที่ใฝ่รู้ท่านจึงมุ่งมานะหมั่นศึกษามาโดยตลอด อายุ 20 กว่าก็สนใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
มักถกปัญหาและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบ้านเมืองแก่บรรดานักปกครอง จนได้รับการยกย่องให้เป็น ‘ผู้รอบรู้และสันทัดในนิติธรรมเนียม(礼)’ ดังเช่นครั้งเมื่อเจ้าผู้ครองแคว้นฉี พระนามว่า ‘ฉีจิ่งกง’ (齐景公) เดินทางมาเยือนแคว้นหลู่ พร้อมกับเสนาบดีผู้กระเดื่องนามในประวัติศาตร์นามว่า ‘เยี่ยนอิง’(晏婴)ทั้งสองได้เชิญขงจื๊อเข้าพบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมือง

ขงจื๊อถนัดในการศึกษาเรียนรู้ข้อดีของคนอื่น ดังที่ได้กล่าวไว้ว่า “สามคนร่วมเดิน จักต้องมีอาจารย์ของเราเป็นแน่ จงเลือกที่ดีเพื่อเอาอย่าง
ส่วนที่ไม่ดีก็จงนำมาแก้ไขปรับปรุงตน”(三人行,必有一师焉。择其善者而从之,其不善者而改之)และยังเห็นว่า
“ผู้มีความรู้ต้องพร้อมด้วยวรยุทธ์ ผุ้มีวรยุทธ์ต้องพร้อมด้วยความรู้”(有文事者必有武备,有武事者必有文备)
ซึ่งก็ต้องเป็นผุ้รอบรู้นั่นเอง ความขยันหมั่นเพียรศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่เยาว์วัย เป็นการสั่งสมความรู้ความสามารถสำหรับการสร้างระบบแนวคิด และปูพื้นฐานที่มั่นคงในการถ่ายทอดความรู้แก่ลูกศิษย์ ทำให้ขงจื๊อเป็นผู้รอบรู้ในยุคสมัยนั้นและมีผู้มาฝากตัวเป็นศินย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ครั้นอายุ 35 แคว้นหลู่เกิดศึกการเมืองภายในจากการแย่งชิงอำนาจกันเองของผู้ปกครอง ขงจื๊อจึงเดินทางไปยังแคว้นฉีด้วยความคาดหวังว่า เจ้าผุ้ปกครองแคว้นฉีจะสนใจแนวคิดการปกครองของตน แต่ต้องผิดหวังที่เจ้าผู้ปกครองแคว้นไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ทั้งยังมีขุนนางคอยกลั่นแกล้งและกีดกัน ท่านจึงกลับมายังแคว้นหลู่หลังจากที่อยู่แคว้นฉีได้ราวหนึ่งปี และดำเนินชีวิตเป็นครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่บรรดาสานุศินย์ทั้งหลาย

ขงจื๊อ ในวัย 51-54 ปีใช้ชีวิตวัยกลางคนคลุกคลีกับการปกครองบ้านเมืองอย่างเต็มตัว ด้วยการดูแลท้องที่เล็ก ๆ แห่งหนึ่งจากนั้นไม่นานก็ได้เป็นผู้คุมการโยธา
และผู้ดูแลกฎหมายและการลงทัณฑ์ของแคว้นหลู่ ตามลำดับ ท่านทุ่มเทกับงานและปรารถนาให้มีการปกครองที่ดี บ้านเมืองสงบสุข
แต่ต้องผิดหวังกับการเมืองภายในแคว้น จึงได้ลาออกและเดินทางเยือนแว่นแคว้นต่าง ๆ เผยแพร่แนวความคิดทางการปกครองด้วยความคาดหวังให้บรรดาผู้ปกครองยึดหลักธรรมในการบริหารบ้านเมือง สังคมเป็นระเบียบแบบแผนและสงบสุข แม้จะรู้ว่าเป้นไปได้ยากในสภาพบ้านเมืองเวลา 14 ปี จนกระทั่งอายุได้ 67 ปี จึงเดินทางกลับแคว้นหลู่ และเสียชีวิตเมื่ออายุ 73 ปี

ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่เดินทางเยือนผู้ปกครองของแว่นแคว้นต่าง ๆ เพื่อแนะแนวทางการบริหารบ้านเมือง ขงจื๊อประสบกับอุปสรรคนานัปการ
ไม่ว่าจะถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม ใส่ร้ายป้ายสี ปองร้าย ควบคุมตัว และแนวความคิดก็ไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากสวนทางกับสภาพบ้านเมืองและสังคมในขณะนั้น
ที่เจ้าครองแคว้นต่างคำนึงถึงผลประโยชน์ความอยู่รอดของแคว้นตน แต่ท่านก็ไม่ลดละความมุ่งมั่นและความกระตือรือร้นที่ต้องการมีส่วนร่วมสร้างสังคมที่ดี
ยินดีที่จะอุทิศตนเพื่อประชาชน ท่านกล่าวว่า “ผู้มีปณิธานและมนุษยธรรมจะไม่ทำลายมนุษยธรรมเพียงเพื่อแลกกับการมีชีวิต จะมีแต่อุทิศชีวิตตนเพื่อให้บรรลุมนุษยธรรม”

ในเอกสารประวัติศาสตร์ยุคใหม่ จะไม่มีวลีใดที่จะอ้างถึงส่วนสำคัญของท่านขงจื้อว่า “….เป็นชนเผ่าไทจ้าว สืบสายมาแต่ราชวงศ์ช้าง(จีนจะออกเสียงเป็น “ซาง” เช่น ล้านช้าง จะ ออกเสียงเป็น ลางซาง เป็นต้น)

เผ่าไทจ้าว เป็นเผ่าที่ยิ่งใหญ่ ปกครองเผ่าไททั้งมวลนับพันปี อันเป็นที่มาของการยอมรับ คำว่า “จ้าว” หมายถึง “ผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่ ผู้อยู่เหนือคนทั่วไป” (กลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไท ที่เรียกว่า “จ้าวอยู่หัว”สืบมา)

เมื่อถึงยุคสมัย ปฐมจักพรรดิ์ไทเชื้อสายไทจ้าว ซึ่งได้รวบรวมเผ่าไทที่กระจัดกระจายให้เป็นหนึ่งเดียว คือ จิ๋นซี จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกเสียใหม่เป็น “อ้วงตี่=ฮ่องเต้” ใช้สืบมาหลังจากนั้น

หลักปรัชญาคำสอนด้านมนุษยธรรม ในการอยู่ร่วมกันด้วยความรัก สัจจะ และ สันติ ของ “ขงจื้อ” อมตะศาสดาเผ่าไท ได้ผ่านยุคสมัย สืบทอดต่อเนื่องคงอยู่คู่กับสังคมมนุษย์ และ ได้กระจายไปทั่วทุกมุมโลกในปัจจุบัน

แน่นอนที่สุด…ผู้ที่เป็นชนชาติไท ย่อมภาคภูมิใจ ในบรรพชน ที่เปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญา อันยากจะหานักปรัชญา ของชนชาติใดมาเทียบได้จวบจนปัจจุบัน

….. และที่กล่าวมาแต่ต้น ล้วนเป็นข้อแท้จริง ที่ถูกคณะกรรมการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ของเหมาเจ๋อตง สั่งให้นักประวัติศาสตร์ตัดออกไปจากตำรา และ คัมภีร์

หลัง พ.ศ.2509 เป็นต้นมา จึงไม่ปรากฏเนื้อหาให้ร่ำเรียน รับรู้ อีกเลย… !!

:: Confidential History

By admin