:: ปฐมเหตุราชวงศ์ไทแถน(ต้าถัง) ล่มสลาย - ภาค 1 :: EP 1

     ตอน 1     ตอน 2     ตอน 3     ตอน 4     ตอน 5     ตอน 6     ตอน 7     ตอน 8     ตอน 9     ตอน 10

     ตอน 11     ตอน 12     ตอน 13     ตอน 14     ตอน 15     ตอน 16     ตอน 17     ตอน 18     ตอน 19

     ตอน 20     ตอน 21     ตอน 22     ตอน 23     ตอน 24     ตอน 25     ตอน 26     ตอน 27     ตอน 28

     ตอน 29     ตอน 30     ตอน 31     ตอน 32     ตอน 33     ตอน 34     ตอน 35     ตอน 36     ตอน 37

     ตอน 38     ตอน 39     ตอน 40     ตอน 41     ตอน 42     ตอน 43     ตอน 44     ตอน 45     ตอน 46

     ตอน 47     ตอน 48     ตอน 49     ตอน 50     ตอน 51     ตอน 52     ตอน 53     ตอน 54     ตอน 55

     ตอน 56     ตอน 57     ตอน 58     ตอน 59     ตอน 60


บอกกล่าว ให้เข้าใจ ::: ภาพยนต์ชุดนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นราชวงศ์ไทแถน(สำเนียงจีนออกเสียงเป็น ต้าถัง) และถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ที่ทำให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่สับสน เพราะมีชื่อสอดคล้องใกล้เคียงกัน คือ ถังไทจง (คือ หลี่ซื่อหมิน) กับ ถังไต่จง ซึ่งเป็นตัวหลักของเนื้อหาในภาพยนต์นี้ ซึ่งเป็นคนละคน คนละสมัยกัน ตามเรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการจริงที่เกิดขึ้นหลังสมัย ถังไทจงพระราชสวามีของบูเซ็กเทียน นับร้อยปี ขอให้ท่านผู้ใฝ่ค้นคว้าศึกษาประวัติศาสตร์ไท รับทราบตามข้อมูลที่แท้จริงนี้


ถังไต้จง (唐代宗) พ.ศ. 1305-1322 เป็นกษัตริย์องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ไทแถน(ต้าถัง) มีพระนามเดิมว่าองค์รัชทายาทหลี่อวี่ (李豫) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 1269 กษัตริย์ถังไต้จงเป็นพระราชโอรสในกษัตริย์ถังซู่จง ทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 1305 ถังไต้จงเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ โง่เชลา และไร้อำนาจ จึงทำให้อำนาจทั้งหมดอยู่ในกำมือของขันทีหลี่ฝู่กั่ว อันเป็นต้นเหตุแห่งการล่มสลายของราชวงศ์ไทแถน(ต้าถัง) อันยิ่งใหญ่ กษัตริย์ถังไต้จงสวรรคตลงในปี พ.ศ. 1322 ครองราชย์ได้ 17 ปี ขณะพระชนม์ได้ 53 พรรษา

รุ่ยเจินฮองเฮา สกุลเสิ่น (睿真皇后 沈氏) บุตรีจากครอบครัวตระกูลชนชั้นสูง สกุลเสิ่นจากนครอู๋ซิ่ง ซึ่งรับราชการเป็นขุนนางข้าราชสำนักมากว่าหกรุ่น ในรัชสมัยถังเสวียนจง พ.ศ.1284 พระอัยยิกาของหลี่ชู่ (ถังไต้จง) ได้รับคัดเลือกเข้าวังตะวันออกอันเป็นที่ประทับของรัชทายาทหลี่เฮิง (ถังซู่จง) และครอบครัว ต่อมาได้ถูกพระราชทานให้เป็นอนุชายาของหลี่ชู่ ซึ่งในขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นกว่างผิงจวิ้นอ๋อง หนึ่งปีต่อมาได้ให้กำเนิดพระโอรสองค์โตในกว่างผิงจวิ้นอ๋อง นามหลี่ซื่อ สิบสามปีผ่านไป ในปี พ.ศ.1318 ได้เกิดกบฏอัน-สื่อ (安史之乱) หลี่ชู่ได้ตามพระอัยกาและพระบิดาหนีออกจากเมืองหลวงฉางอัน ในขณะที่เชื้อพระวงศ์บางส่วนรวมถึงอนุชายาเสิ่นนั้นหนีไม่ทัน จึงตกอยู่ในการปกครองของอันลู่ซาน และถูกขังไว้ที่ตำหนักฝ่ายในของนครลั่วหยาง ระหว่างนั้นถังเสวียนจงก็ได้สละราชสมบัติ รัชทายาทหลี่เฮิงขึ้นครองราชย์ต่อเป็นถังซู่จง สองปีต่อมาก็ได้มีการรวบรวมกำลังพลยึดเมืองลั่วหยางกลับคืนมาได้ หลี่ชู่และอนุชายาเสิ่นจึงได้พบกันอีกครั้ง แต่ไม่นานลั่วหยางก็ถูกฝ่ายกบฏโจมตีอีกครั้ง หลังจากนั้นก็ไม่มีผู้ใดได้ข่าวคราวหรือร่องรอยใดๆ ของอนุชายาเสิ่นอีกเลย

ภายหลังเมื่อหลี่ชู่ได้ขึ้นครองราชย์เป็นถังไต้จง ก็ได้แต่งตั้งหลี่ซื่อพระโอรสองค์โตซึ่งเกิดแต่อนุชายาเสิ่นขึ้นเป็นรัชทายาท และได้ส่งคนให้ออกตามหา แต่ก็ไม่พบเบาะแสใดๆ ถึงแม้จะแต่งตั้งหลี่ซื่อเป็นรัชทายาท ถังไต้จงก็ไม่ได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งใดๆ ให้กับอนุชายาเสิ่น ตรงจุดนี้มีความเป็นไปได้ทางนึงคือบันทึกในเรื่องนี้สูญหายไป ทำให้ไม่สามารถยืนยันได้ แต่จากข้อความในหนังสือขอพระราชทานออกจากตำแหน่งรัชทายาท (唐德宗让皇太子表) พบว่าหลี่ซื่อได้พูดถึงฐานะตนเองว่าเป็นตี๋จ๋างจื่อ (嫡长子) หรือลูกคนโตซึ่งเกิดจากภรรยาเอก ตำแหน่งฮองเฮาในสมัยถังไต้จงถูกเว้นว่างเอาไว้ตลอดรัชสมัย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่อนุชายาเสิ่นอาจจะได้รับแต่งตั้งเป็นฮองเฮาเป็นการภายใน หากแต่ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่สามารถยืนยัน ได้อย่างแน่ชัด


ต่อมาหลี่ซื่อขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ราชวงศ์ไทแถน (ต้าถัง) นามว่า ถังเต๋อจง ก็ได้แต่งตั้งพระมารดาเป็นฮองไทเฮา และส่งคนออกตามหาอีก แต่จนสิ้นรัชสมัยก็ไม่พบแต่อย่างใด ถังเซี่ยนจง หลี่ฉุน พระนัดดาในถังเต๋อจง เมื่อขึ้นครองราชย์ก็สถาปนาเสิ่นฮองไทเฮาขึ้นเป็นไทฮองไทเฮา และได้จัดพิธีฝังพระศพให้แก่พระนาง โดยใช้ฮุยอี (祎衣) หรือชุดพิธีการสูงสุดของฮองเฮาในสมัยนั้นเป็นสิ่งแทนพระศพ โดยทำพิธีฝังร่วมกับถังไต้จงในพระสุสานหลวงเยวี๋ยนหลิง (元陵) และสถาปนาพระนามว่า รุ่ยเจินฮองเฮา (睿真皇后) ถังไต้จงยังมีฮองเฮาอีกคนนึงคือ เจินอี้ฮองเฮา สกุลตู๋กู (貞懿皇后 獨 แต่ได้รับสถาปนาเป็นฮองเฮาหลังจากสิ้นพระชนม์ในตำแหน่งกุ้ยเฟย

สำหรับคำภาษาจีนนี้ 長孫 (เป็นแซ่ 2 พยางค์) ออกเสียงจีนกลางว่า " จ่างซุน "

.