:: การสถาปนา ราชวงศ์ไทหาญ บรรพ1 ::


ราชวงศ์ไทหาญนั้น ตามประวัติศาสตร์ที่แท้จริง จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ราชวงศ์ไทหาญตอนต้น มีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครเชียงอาน(ตามความหมายภาษาไท เชียง แปลว่า เมือง อาน แปลว่า อุดมสมบูรณ์...สำเนียงจีนจะออกเสียงเป็น ฉางอัน) ดังนั้น ราชวงศ์ไทหาญยุคต้น จึงได้รับการขนานนามว่าไทหาญตะวันตก เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ไทหาญตอนปลายได้ย้ายเมืองหลวงมายังนครลั่วหยาง เรียกว่า ไทหาญตะวันออก

หลิวปังผู้ก่อตั้งราชวงศ์ไทหาญนั้น แต่เดิมเป็นเพียงชนชั้นขุนนางผู้น้อย เมื่อฉินสื่อหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ในราชวงศ์ฉินสิ้นพระชนม์ลง อำนาจของราชวงศ์ฉินเริ่มคลอนแคลน มีการลุกฮือขึ้นก่อการจากกบฏชาวนาและบรรดาเชื้อสายเจ้าผู้ครองแคว้นเดิม มีการตั้งตัวเป็นใหญ่ในทุกหัวระแหง หลิวปังก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่เพาะสร้างอำนาจขึ้นจากขุมกำลังเล็ก ๆ ต่อมาได้กรีฑาทัพเข้านครเสียนหยาง อยู่ใกล้กับเมืองซีอานในปัจจุบัน ปิดฉากยุคสมัยของราชวงศ์ฉิน และส่งมอบนครเสียนหยางให้กับเซี่ยงอี่ว์หรือฌ้อปาอ๋องซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ในแคว้นฉู่และมีขุมกำลังเข้มแข็งที่สุดในขณะนั้น หลิวปังจึงได้รับการอวยยศขึ้นเป็นหาญจงอ๋อง หลังจากสะสมกำลังพลกล้าแกร่งขึ้น จึงเปิดศึกแย่งชิงบัลลังก์กับเซี่ยงหวี่ (ฌ้อปาอ๋อง) การศึกครั้งนั้นได้รับการขนานนามว่า สงครามฉู่ฮั่น กินเวลานาน 4 ปี


ปีพุทธศักราช 341 หลิวปังได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์จักรพรรดิ สถาปนาราชวงศ์หาญ ระบบบริหารการปกครองของราชวงศ์หาญ โดยรวมแล้วยังคงยึดรูปแบบเช่นเดียวกับราชวงศ์ฉิน แต่เนื่องจากราชวงศ์ฉินที่ปกครองอย่างเข้มงวดเป็นเหตุให้ล่มสลายอย่างรวดเร็ว ฮั่นเกาจู่ จึงประกาศยกเลิกกฎหมายที่ทารุณโหดร้ายบางส่วน อีกทั้งดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรต่อประชาชน เช่น ลดการเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์แรงงาน ปลดปล่อยกำลังทหารและประชาชนสู่บ้านเกิดของตน จัดสรรที่ดินทำกินให้กับบรรดาทหารที่ร่วมรบชนะศึกสงคราม อีกทั้งพระราชทานรางวัลเป็นเสบียงอาหาร และตำแหน่งทางราชการ นอกจากนี้ ยังเข้าควบคุมพ่อค้าที่ร่ำรวย ไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า ผืนดินที่ทำการเพาะปลูกได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้สภาพสังคมได้มีเวลาในการฟื้นฟูและจัดระเบียบใหม่ และกลับสู่ความสงบสุขที่เคยเป็นจวบจนรัชสมัยของเหวินตี้ และจิ่งตี้ ในอีกกว่า 60 ปีให้หลัง ก็ยังคงให้ความสำคัญกับเกษตรกรรม มีการจัดเก็บภาษีแต่น้อยและเกณฑ์แรงงานต่ำ สภาพเศรษฐกิจและสังคมได้รับการเยียวยา จนกระทั่งเริ่มมีความเจริญรุดหน้า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกลือ ธุรกิจเหล็กกล้า งานหัตถกรรม และการค้าขายต่างก็ขยับขยายเติบโตขึ้น


เนื่องจากในช่วงต้นราชวงศ์หาญได้มีการปูนบำเหน็จให้กับบรรดาขุนนางและเจ้านายเชื้อพระวงศ์จำนวนมาก ดังนั้นอำนาจของเจ้านายเหล่านี้จึงนับวันจะแกร่งกล้าขึ้น ในรัชสมัยจิ่งตี้จึงเกิดเหตุการณ์ ‘กบฏ7แคว้น’ขึ้น หลังจากกบฏถูกปราบราบคาบลง อิทธิพลอำนาจของเหล่าขุนนางก็อ่อนโทรมลง อำนาจจากส่วนกลางเข้มแข็งขึ้น

รัชสมัยอู่ตี้ (ระยะเวลาครองราชย์ 54 ปี ถือเป็นกษัตริย์ชาวไทหาญที่ครองบัลลังก์ยาวนานที่สุดของจีน) จึงถือเป็นยุคทองของหาญตะวันตก เศรษฐกิจรุ่งเรือง ทรัพย์สินในทองพระคลังล้นเหลือ ในรัชสมัยอู่ตี้ มีการกำหนดเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้ภายในประเทศ มีข้อห้ามในการหลอมสร้างเหรียญกษาปณ์เป็นส่วนตัว ธุรกิจหลอมเหล็กกลายเป็นกิจการของรัฐ มีการตรากฎหมายการขนส่งลำเลียง วางข้อกฎหมายระเบียบใบอนุญาตต่าง ๆ ทำให้รายได้ท้องพระคลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ฮั่นอู่ตี้จึงหันไปสนใจนโยบายต่อต่างแดน เช่น ชนเผ่าตง (นี่แหละคือ จีนที่แท้จริง ซึ่งมีชื่อเรียกในประวัติศาสตร์ว่า "ชาวตง" เผ่าตงหนู หรือ ซงหนู) ที่คอยรบกวนอยู่ทางชายแดนภาคเหนือมาเป็นเวลานาน


ฮั่นอู่ตี้ก็ได้ยกทัพออกปราบถึง 3 ครั้งครา ขับไล่ชนเผ่าซงหนูให้ถอยร่นกลับเข้าไปยังดินแดนทะเลทรายทางตอนเหนือ นำสันติสุขมายังดินแดนชายขอบตะวันตก ของอาณาจักร อีกทั้งยังบุกเบิกพื้นที่ทำไร่นาในแถบดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซ่อมแซมกำแพงเมืองจีน จัดตั้งระบบไฟสัญญาณแจ้งเหตุตามชายแดน และยังส่งจางเชียนไปเป็นทูตสันถวไมตรียังดินแดนตะวันตก เพื่อเปิดเส้นทางการค้าออกไปยังดินแดนเอเชียกลาง อันเป็นที่รู้จักกันในนามของ ‘เส้นทางสายไหม’

รัชสมัยของเจาตี้ และเซวียนตี้ นั้น แม้ว่าเศรษฐกิจของอณาจักรจะยังคงก้าวไปข้างหน้า ทว่า กลับแฝงเร้นไว้ด้วยเงามืดของการเมือง เกิดการซ่องสุมอำนาจและความพยายาม ในการล้มล้างฐานอำนาจเดิม ทำให้ชาวเมืองพากันหวั่นหวาดความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ส่วนนโยบายต่อชนเผ่านอกด่านคือ ซ่งหนู ได้หันมาใช้การผูกมิตรแทน โดยมีการจัดส่งองค์หญิงหรือบุตรสาวของเจ้านายชั้นสูงไปแต่งงานกับหัวหน้าเผ่านอกด่าน จนเกิดเป็นตำนานของ โฉมสคราญ หวังเจาจวิน

แต่ท้ายที่สุดเมื่อเขาถูกข่มเหงจากข้าราชการฝ่ายรัฐใส่ความและจับไปขังทรมาณในคุก ทำให้เขาทนไม่ได้จึงฆ่าผู้คุม และเดินทางไปร่วมกับผู้กล้าทั้งหลายที่รวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลที่เขาเหลียงซาน พร้อมด้วยวีรชน “บู๊สง ผู้ฆ่าเสือด้วยมือเปล่า” เป็นต้น

รัชสมัยฮั่นหยวนตี้ กลุ่มขุนนางที่ไม่มีเชื้อสายชนชั้นสูงมีอำนาจมากขึ้น ระบอบการปกครองล้มเหลว เกิดการขัดแย้งทางชนชั้นและการลุกฮือของกบฏชาวนาอยู่เสมอ
รัชสมัยฮั่นเฉิงตี้ กลุ่มตระกูลหวังซึ่งเป็นญาติฝ่ายพระมารดาของเฉิงตี้เข้ากุมอำนาจทางการเมืองไว้ได้ ตระกูลหวังมีพี่น้อง 4 คนและหลานชายชื่อหวังมั่ง เข้ารวบตำแหน่งหัวหน้าทางการทหารและพลาธิการไว้ได้ อีกทั้งยังร่ำรวยทรัพย์สินมหาศาลพอล่วงเข้ารัชสมัยฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์หาญตะวันตกก็ถูกกบฏชาวนาสั่นคลอนราชบัลลังก์จนแทบไม่อาจยืนหยัดต่อไปได้ หวังหมั่งนำความคิดเรื่อง ‘สืบทอดบัญชาสวรรค์’ มาใช้เพื่อการแก้ไขวิกฤตอีกครั้ง แต่ก็ต้องประสบกับความล้มเหลว เมื่อฮั่นผิงตี้ ขึ้นครองบัลลังก์ หวังหมั่งกลับมาเรืองอำนาจอีกครั้งจึงเร่งกำจัดศัตรูทางการเมืองขนานใหญ่ รวมทั้งจัดตั้งสมัครพรรคพวก หาทางซื้อใจประชาชนและปัญญาชน เพื่อสนับสนุนฐานอำนาจแห่งตน

เมื่อฮั่นผิงตี้สิ้นพระชนม์ลง หยูจื่ออิง ซึ่งยังเป็นเด็กขึ้นครองราชย์ต่อมา หวังหมั่งเห็นเป็นโอกาส จึงถอดถอนหยูจื่ออิง แล้วตั้งตนขึ้นเป็นฮ่องเต้ (พ.ศ. 535) นับแต่นั้น ราชวงศ์ไทหาญตะวันตกก็ถึงกาลล่มสลายราชวงศ์ไทหาญตะวันตก ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติไมในแผ่นดินจีนปัจจุบัน เป็นยุคสมัยที่ก่อเกิดศูนย์รวมทางจิตใจของความเป็นชนชาติไทหาญ หลังจากฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ปฐมจักพรรดิไท ที่สามารถรวมเผ่าไททั่วแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว

ในสมัยจั้นกว๋อ การสู้รบระหว่างแว่นแคว้นต่าง ๆ ได้ทำให้เกิดการหล่อหลอมวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

เมื่อถึงสมัยไทหาญตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการปกครอง ภาษาอักษร การศึกษาวัฒนธรรม ขนบประเพณีต่างก็ได้รับการกลืนกลายเป็นหนึ่งเดียว เกิดเป็นวัฒนธรรมร่วมกันที่เรียกว่า‘วัฒนธรรมของชนชาติไทหาญ’นับแต่นั้นมา ชนชาติไทหาญซึ่งมีความเจริญมากกว่า จึงมักได้รับการยอมรับให้เป็นกลุ่มผู้นำ ในดินแดนแถบนี้ และนี่คือผลแห่งวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และการหลอมกลืนโดยธรรมชาติ ในภายหลังยุคสมัยไทหาญต่อมา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองหรือราชวงศ์อีกมากมาย แต่กลุ่มผู้นำยังคงเป็นชาวไทหาญตลอดมา