EP1     EP2      EP3      EP4      EP5      EP6


........................... เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ชนชาติไทยุคบรรพกาลที่บันทึกจากเหตุการณ์ ช่วงปลายราชวงศ์ต้าซ่ง(ไทสูง)บางแห่งเขียนเป็น "เป่ยซ่ง"แปลว่า "ไทสูงภาคตะวันออก" เอกสารประวัติศาสตร์นี้ ได้บันทึกขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 900 (ชื่ออังกฤษ: Water Margin, Outlaws of the Marsh, All Men Are Brothers (ชื่อจีน: ซ้องกั๋ง หรือ สุยหู่จ้วน)

เรื่องราวกล่าวถึง "ผู้กล้า 108 คนที่รวมตัวกันปกป้องบ้านเมือง" แต่เดิมเป็นเรื่องสั่งสอนสืบกันมาตลอด ต่อมาศิลปินพื้นบ้านนำเรื่องเล่านี้มาผูกเป็นเพลงงิ้ว เรื่องสุยหู่จ้วนมีการประพันธ์ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า "ซือไน่อัน"

และต่อมา"หลอกว้านจง" ผู้เรียบเรียงบันทึกเหตุการณ์สงครามรวมชนชาติไทย "ยุทธการน่านเจ้า (สามก๊ก) ได้เรียบเรียงเนื้อหาใหม่ ใช้ชื่อว่า สุยหู่จ้วน ในภาษาจีนอันมีความหมายว่า "ลำนำริมฝั่งน้ำ(Water Margin)" หมายถึงสถานที่ซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวหรือฐานทัพของผู้กล้าทั้งร้อยแปดคน คือ ริมทะเลสาบเหลียงซานป๋อ ซึ่งเป็นฉบับที่นักประวัติศาสตร์ทั่วโลกนำไปศึกษา ปรับปรุง แปรเปลี่ยนเป็นเวรรกรรมชื่ออื่น เพื่อใช้ในการสร้างเสริมจิตวิญญาณรักชาติ ของแต่ละยุค แต่ละประเทศสืบมาจนถึงปัจจุบัน


คุณค่าของนิยายเรื่อง “ซ้องกั๋ง” ในการสร้างความคิด จิตวิญญาณ ของผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ฉบับนี้ "เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชนชาติไท" และยกย่องเทิดทูนวีรกรรมของผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซาน จนเป็นที่ยอมรับกันอย่างสูงในระดับสากล อีกทั้งยังได้รับการประเมินว่าเป็นวรรณกรรมเอกของโลก ด้วยคุณค่าทางวรรณศิลป์ที่เป็นวรรณกรรมของมวลชน เหมาะสำหรับผู้คนทุกรุ่นทุกวัย ตลอดมาทุกยุสมัย

รัฐบาลสาธารรัฐประชาชนจีน ได้เห็นความสำคัญในปลุกสำนึก จิตวิญญาณ ความรักชาติ ของประชาชนให้รวมเป็นหนึ่งเดียว ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจีนจึงได้กำหนดให้นักเรียนมัธยมต้องอ่านนิยายเรื่องนี้เพราะนิยายเรื่องนี้มีความผูกพันระหว่างบุคคล ซึ่ง มีเนื้อหาลึกซึ้งที่ส่งผลสะเทือนต่อจิตใจของมนุษย์ เด็กๆ จะชอบเพราะอ่านแล้วเข้าใจง่ายสนุกสนานน่าติดตาม เป็นเรื่องของตัวเด่น 108 คนที่มีที่มาที่ไปต่างกัน แต่มีเหตุให้ต้องมารวมตัวกันที่ป่าแห่งหนึ่ง เพื่อต่อสู้กับทางราชสำนัก เมื่ออ่านจบจะทำให้เด็กๆ อยากเป็นวีรบุรุษอย่างตัวเอกในเรื่อง หนังสือเล่มนี้สอนให้คนรู้จักต่อสู้เพื่อทวงสิทธิประโยชน์ของตน บทบาทที่สำคัญที่เร้าใจที่สุดคือ "การตอบคำถามที่ว่า เราจะให้ผู้อื่นข่มเหงรังแกเราอย่างไม่มีเหตุผลต่อไปหรือไม่ ?" หัวใจของเรื่องก็คือ "การกล้าสู้ กล้าแสดงออกในความคิดเห็น กล้าต่อต้าน กล้าเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่อยุติธรรมทุกรูปแบบ"

“ซ้องกั๋ง” เป็นเรื่องราวของ "ชนชาติไทหาญ(ต้าฮั่น)" ที่จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับข้าราชการ ขุนนางกังฉินในราชวงศ์ซ้องเหนือ ( ไทสูง ค.ศ.960-1127) เพื่อป้องกันตัว เพื่อความอยู่รอด ถ้าพวกเขาไม่สู้ พวกเขาก็จะไม่มีอนาคต ไม่มีชีวิตรอด อันเป็นที่มาของคำว่า "จะอยู่อย่างไท หรือ จะตายอย่างทาส"

วีรบุรุษที่เป็นที่รู้จักกันดีใน “ซ้องกั๋ง” มีอยู่ด้วยกันหลายคน หนึ่งในวีรบุรุษอันเป็นที่ประทับใจผู้คนนั้นที่มีนามว่า “หลินชง” หลินชงเป็นครูฝึกทหารที่ถือว่ามีตำแหน่งไม่เล็กนัก แต่เขาก็ยังถูกขุนนางใหญ่ที่เป็นคนโปรดปรานของกษัตริย์รังแก จนถึงขนาดจะฆ่าล้างครอบครัว ในตอนแรกหลิงชงได้แต่ก้มหน้ายอมรับโทษทัณฑ์ต่างๆ ตามที่ตนพลาดท่าเสียทีจนถูกใส่ความ

แต่ท้ายที่สุดเมื่อเขาถูกข่มเหงจากข้าราชการฝ่ายรัฐใส่ความและจับไปขังทรมาณในคุก ทำให้เขาทนไม่ได้จึงฆ่าผู้คุม และเดินทางไปร่วมกับผู้กล้าทั้งหลายที่รวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลที่เขาเหลียงซาน พร้อมด้วยวีรชน “บู๊สง ผู้ฆ่าเสือด้วยมือเปล่า” เป็นต้น

จุดมุ่งหมายสูงสุดของ"หลอกว้านจง" ผู้บันทึกประวัติศาสตร์ "วีรบุรุษแห่งเขาเหลียงซาน" นี่ไว้ก็คือ ต้องการปลุกจิตสำนึกชนชาติไททุกคน ให้เป็นคนกล้า กล้าที่จะแสดงออก กล้าสู้ กล้าที่จะยืนอยู่ในจุดยืนที่ถูกต้อง เป็นตัวตั้งตัวตี เป็นกำลังสำคัญของชุมชน มีคำพูดกล่าวไว้ว่า “คนดีมีมากแต่คนกล้ามีน้อย”หวังว่าคำพูดนี้จะไม่เป็นความจริง เพราะเราจะช่วยกันเพิ่มคนดีและคนกล้าในสังคมของเราให้มากยิ่งๆ ขึ้น